โครงงาน

บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
          ในสังคมปัจจุบัน ข้อมูล ข่าวสาร และสารสนเทศ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่ามากในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน และเนื่องจากเทคโนโลยีต่างๆ ในปัจจุบันได้พัฒนาไปมากและราคาไม่แพง ทำให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใช้ได้ง่ายขึ้น  และทุกคนสามารถหานำมาใช้ได้ระบบสารสนเทศนั้นอาจมองง่ายๆว่าเป็นการนำข้อมูลต่างๆ  มาประมวลผลให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้และเทคโนโลยีที่ช่วยในการประมวลผลข้อมูล ก็หนีไม่พ้นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เมื่อคอมพิวเตอร์พัฒนาไปมากขึ้นก็ทำให้ระบบสารสนเทศต่างๆ พัฒนามากขึ้นไปด้วย  
เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่ใช้สำหรับช่วยในการประมวลผลข้อมูล โดยจะทำงานตามคำสั่งที่เก็บเอาไว้หน่วยความจำ เพื่อประมวลผลข้อมูล  สื่อสารและเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังส่วนต่างๆ   ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะมีการป้อนข้อมูลต่างๆ ให้กับคอมพิวเตอร์ประมวลผล เพื่อให้เอาพุตออกมาเป็นข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ในการประมวลผลการสอบของนักเรียน ข้อมูลที่เข้าไปทางอินพุตอาจเป็นคะแนนสอบต่างๆ คะแนนการบ้าน คะแนนเวลาเรียนจากนั้นให้ระบบสารสนเทศประมวลผลตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้ และให้เอาต์พุตออกมาเป็นเกรดและคะแนนรวมเป็นต้น
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขอบเขตของโครงงาน
สร้างสื่อวีดีทัศน์ และบล็อกข้อมูล เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้โปรแกรม Camtasia Studio , photoshop cs6  ในการสร้างสื่อที่เป็นภาพวีดีโอ เสียง คำบรรยายต่างๆ และใช้ www.youtube.com ในการเผยแพร่

วิธีการดำเนินการ
1.คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
2. ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับโครงงานในการสร้างสื่อ วีดีทัศน์
3. จัดทำโครงร่างโครงงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
4. ศึกษาโปรแกรมต่างๆ ในการสร้างวีดีทัศน์
5. ออกแบบสร้างสื่อ วีดีทัศน์ ตกแต่งใส่เสียง
6. จัดทำโครงงานสร้าง สื่อวีดีทัศน์ เรื่อง คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. เผยแพร่ผลงานสื่อ วีดีทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
8. สรุปรายงานโครงงาน จัดทำรูปเล่ม

ประโยชน์ที่ได้รับ
          1. ผู้สนใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่อวีดีทัศน์
3. ได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณค่าและทำให้เกิดประโยชน์




บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ ด้านการศึกษา ด้านพานิชยกรรม ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม ด้านสาธารณสุข ด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยในการทำงานนั้นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

     ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ ดังนี้
1. การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์
3. มีผลให้การใช้งานด้านต่างๆ มีราคาถูกลง
4. เครือข่ายสื่อสารได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก
5. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก

     ข้อมูล (data) => กลุ่มตัวอักษรอักขระที่เมื่อนำมารวมกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งและสำคัญควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่างๆ ข้อมูลมักเป็นข้อความที่อธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใดๆ ที่สามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์

     สารสนเทศ => ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียงหรือประมวลแล้วจากข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการจนได้เป็นความรู้เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ

     ข้อมูลและสารสนเทศนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่างๆ มากมายอาทิเช่น
-         ด้านการวางแผน
-         ด้านการตัดสินใจ
-         ด้านการดำเนินงาน

     องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังต่อไปนี้
          1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอกเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า Hardware และอุปกรณ์ Hardware นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือเรียกว่า Software

          Hardware
-         อุปกรณ์รับข้อมูล (Input)
-         อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output)
-         หน่วยประมวลผลกลาง
-         หน่วยความจำหลัก
-         หน่วยความจำรอง

           Software
-         ซอฟต์แวร์ระบบ
-         ซอฟต์แวร์ประยุกต์

     ซอฟต์แวร์ระบบ => มีหน้าที่ควบคุมระบบต่างๆ ภายในคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือ Hardware
     ซอฟต์แวร์ประยุกต์ => เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการของผู้ใช้งาน


แผนภาพแสดงกระบวนการจัดการระบบสารสนเทศ

* ที่มา : เอกสารประกอบการสอน / อาจารย์บุรินทร์ ช้างน้อย


          2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสาร รับ/ส่ง ข้อมูลจากที่ไกลๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่ รับ/ส่ง อาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) , ตัวอักษร (Text) , ภาพ (Image) และเสียง (Voice)




แผนภาพแสดงกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม

* ที่มา : เอกสารประกอบการสอน / อาจารย์บุรินทร์ ช้างน้อย

       นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ คือ
1.       เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ
2.       เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น จานแม่เหล็ก
3.       เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลทั้ง Hardware และ Software
4.       เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์
5.       เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร
6.       เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคม

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
-         ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
-         ทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก
-         ทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น
-         เป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัสและสามารถตอบสนองความต้องการการใช้ เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
-         ทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
-         ก่อให้เกิดการวางแผน การดำเนินการระยะยาวขึ้น
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลก ด้านความเป็นอยู่สังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาด้านต่างๆ

     ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
          จากงานวิจัยของ Whittaker พบว่าปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
1.       การขาดการวางแผนที่ดีพอ
2.       การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน
3.       การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง
     สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่พบ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule Overruns) และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ปี
     นอกจากนี้ ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
1.ความกลัวการเปลี่ยนแปลง
2.การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ
3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึงทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

วิวัฒนาการของสารสนเทศ
ในระบบสารสนเทศนั้นจะมีการนำเสนอข้อมูลต่างๆ มาประมวลผลให้ข้อมูลนั้นเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานในอดีตที่ยังไม่มี คอมพิวเตอร์ก็ยังมีเครื่องมืออื่นมาช่วยในการประมวลผลข้อมูลและช่วยในการสร้างผลผลิตได้ จนถึงปัจจุบันได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผลข้อมูล ก็ทำให้ระบบสารสนเทศนี้พัฒนาไปได้มากขึ้น ช่วยให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ดีขึ้นในโลกของเราได้มีการนำเสนอเครื่องมือมา ช่วยในการดำรงชีวิตมากมาย จนปัจจุบันนั้นถือได้ว่าเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ หากแบ่งวิวัฒนาการของยุคสารสนเทศจะแบ่งได้ดังนี้
                -โลกยุคกสิกรรม (Agriculture  Age) ยุคนี้นับตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1800 ถือว่าเป็นยุคที่การดำเนินชีวิตของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการทำนา ทำสวน ทำไร่ โลกในยุคนี้ยังมีการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน แต่ก็ถือว่าเป็นสินค้าเกษตรกรเป็นหลัก มีการนำเครื่องมือเครื่องทุ่นแรงมาใช้ให้ได้ผลผลิตดีขึ้น ในระบบหนึ่งๆ จะมีผู้ร่วมงานเป็นชาวนา ชาวไร่เป็นหลัก
                - ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ยุคนี้นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา โดยในประเทศอังกฤษได้นำเครื่องจักรกลมาช่วยงานทางด้านการเกษตร ทำให้มีผลผลิตมากขึ้นและมีผู้ร่วมงานในระบบมากขึ้น เริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรม เริ่มมีคนงานในโรงงาน ต่อมาการนำเครื่องจักรมาใช้งานนี้ได้ขยายไปสู่ประเทศต่างๆ และได้มีการแปรรูปผลิตผลทางด้านการเกษตรออกมามากขึ้น และเครื่องจักรกลก็เป็นเครื่องมือที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ และเริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งทำให้โลกของเรามีทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรมควบคู่กันไป
                -ยุคสารสนเทศ (Information Ago) ยุคนี้นับตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1957 จากที่การทำงานของมนุษย์มีทั้งด้านการเกษตรและด้านอุตสาหกรรมรม ทำให้คนงานต้องมีการสื่อสารกันมากขึ้น ต้องมีความรู้ในการใช้เครื่องจักรกล ต้องมีการจัดการข้อมูลเอกสาร ข้อมูลสำนักงาน งานด้านบัญชี จึงทำให้มีคนงานส่วนหนึ่งมาทำงานในสำนักงาน คนงานเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้และต้องทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง ฝ่ายผลิตและลูกค้า ทำให้มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ มาช่วยในการประมวลผล จัดการให้ระบบงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้เกิดการใช้เครื่องมือทางสารสนเทศขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                เมื่อเข้าสู่ยุคสารสนเทศ องค์กรต่างๆ ที่นำเทคโนโลยีสื่อสารมาใช้ในการจัดการงานประจำวัน จะทำงานได้สำเร็จเร็วขึ้น การผลิตทำได้เร็วขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตสามารถประมวลผลข้อมูลต่างๆได้รวดเร็วขึ้น มีการนำระบบอัตโนมัติด้านการผลิตมาใช้ มีระบบบัญชี และมีโปรแกรมที่ทำงานเฉพาะด้านมากขึ้น   
พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่ใช้สำหรับช่วยในการประมวลผลข้อมูล โดยจะทำงานตามคำสั่งที่เก็บเอาไว้หน่วยความจำ เพื่อประมวลผลข้อมูล  สื่อสารและเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังส่วนต่างๆ ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะมีการป้อนข้อมูลต่างๆ ให้กับคอมพิวเตอร์ประมวลผล เพื่อให้เอาพุตออกมาเป็นข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ในการประมวลผลการสอบของนักเรียน ข้อมูลที่เข้าไปทางอินพุตอาจเป็นคะแนนสอบต่างๆ คะแนนการบ้าน คะแนนเวลาเรียนจากนั้นให้ระบบสารสนเทศประมวลผลตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้ และให้เอาต์พุตออกมาเป็นเกรดและคะแนนรวมเป็นต้น
ขบวนการทำงานของระบบสารสนเทศนั้นจะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) ประมวลผล (Processing) และให้ข้อมูลผลลัพธ์ออกมาทางเอาต์พุต (Output) โดยในระหว่างการประมวลผลของระบบสารสนเทศนั้นอาจมีการรับส่งข้อมูลระหว่างอิน พุตเอาต์พุตอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์ทางเอาต์พุตอาจมีการนำกลับไปปรับปรุงข้อมูลที่เข้ามา ทางอินพุต เรียกว่าวงจรการประมวลผลสารสนเทศ (information processing cycle) ซึ่งขั้นตอนการทำงานต่างๆ จะถูกโปรแกรมอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์จะเรียกฮาร์ดแวร์ (Hard ware) โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ อุปกรณ์อินพุต อุปกรณ์เอาต์พุต ระบบประมวลผล หน่วยเก็บข้อมูล และอุปกรณ์สื่อสารต่าง
 อุปกรณ์อินพุต
อุปกรณ์อินพุตเป็นส่วนที่ใช้รับข้อมูลและคำสั่งจากภายนอกเข้าสู่เครื่อง คอมพิวเตอร์เพื่อนำไปประมวลผล ได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์ สแกนเนอร์ อุปกรณ์อินพุตนี่จะเปลี่ยนข้อมูลที่มนุษย์เข้าใจไปเป็นรหัสข้อมูลที่เครื่อง คอมพิวเตอร์เข้าใจ


อุปกรณ์เอาต์พุต
เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลลัพธ์จาการประมวลผลออกมาในรูปแบบต่างๆ ที่มนุษย์ต้องการ ได้แก่ จอภาพ ลำโพง  และเครื่องพิมพ์โดยอุปกรณ์เอาต์พุตนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนรหัสข้อมูลที่ คอมพิวเตอร์เข้าใจออกมาเป็นข้อมูลที่มนุษย์เข้าใจ
หน่วยประมวลผล
เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ประมวลผลตามคำสั่ง หรือโปรแกรมที่กำหนดไว้  โดยโปรแกรมที่กำหนดไว้  โดยโปรแกรมและข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บเอาไว้ในหน่วยความจำ เมื่อหน่วยประมวลผลทำงานเสร็จแล้วก็จะเก็บข้อมูลลงหน่วยเก็บข้อมูลหรือส่ง ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาทางเอาต์พุต
อุปกรณ์เก็บข้อมูล
อุปกรณ์เก็บข้อมูลเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่จะต้องใช้ ในอนาคต ตัวอย่างของหน่วยเก็บข้อมูลได้แก่ การ์ดความจำ แผ่นซีดี หรือดีวีดี  หน่วยความจำแบบ USB Flash Drive
อุปกรณ์สื่อสาร

                อุปกรณ์สื่อสารประเภทนี้มีไว้ให้คอมพิวเตอร์สามารถรับหรือส่งข้อมูลให้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้โดยการสื่อสารนี้อาจส่งผ่านทางสายเคเบิล ตัวอย่างอุปกรณ์สื่อสารได้แก่ โมเด็ม
ประเภทของคอมพิวเตอร์
                 เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นสามารถจำแนกได้หลายประเภท  ขึ้นกับขนาด ประสิทธิภาพ และลักษณะการใช้งาน โดยทั่วไป
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ ซีพี (Personal Computer)
                เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีใช้งานกันทั่ว เป็นแบบตั้งโต๊ะที่เหมาะสำหรับใช้งานในบ้าน ในสำนักงานราคาไม่แพง ที่นิยมใช้กันมีอยู่สองตระกูลคือ PC-Compatible ที่มีต้นแบบเป็นคอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM และคอมพิวเตอร์ตระกูล Apple คอมพิวเตอร์แบบ Apple คอมพิวเตอร์แบบ PC มีการผลิตออกมาหลายรุ่นหลายแบบโดยส่วนใหญ่และวจะใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows ส่วนคอมพิวเตอร์ Apple จะใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการของ Macintosh ที่เรียกว่า Mac OS


                   
     คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows      คอมพิวเตอร์Appleที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Mac os
คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก  (Notebook Computer)
                เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขนาดเล็กที่มีน้ำหนักเบา สะดวกกับการเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่างๆ คอมพิวเตอร์แบบนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น Mobile computer สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วไปเหมือนพลังงานจากแบตเตอรี่ได้ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ประเภทนี้อาจมีประสิทธิภาพสูงไม่แพ้แบบคอมพิวเตอร์แบบ พีซี แต่หากเปรียบกับพีซีที่มีประสิทธิภาพเท่ากันแล้ว คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุกจะมีราคาสูงกว่า



คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก
คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Handheld Computer)
                เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับพกพาไปที่ต่างๆ เนื่องจากเครื่องมีขนาดเล็กจึงไม่เหมาะที่จะออกแบบคีย์บอร์ดไว้บนตัวเครื่อง แต่ใช้ปากกาที่เรียกว่า  สไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์สำหรับป้อนข้อมูล คอมพิวเตอร์ประเภทนี้สามารถใช้งานพื้นฐานทั่วไปได้ รับส่ง email และใช้ในการสื่อสารได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะรวมถึงคอมพิวเตอร์แบบ PDA (Personal Digital Assistant) หรือ พีดีเอ ที่ใช้กันทั่วไป ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ยังมีกล้องถ่ายภาพติดมาบนตัวเครื่องด้วย



ระบบสารสนเทศในปัจจุบันและอนาคต
                การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระบบ สารสนเทศนั้น ผู้ใช้งานจะต้องทราบว่าต้องการประมวลผลข้อมูลอะไร และเลือกใช้โปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์ที่เหมาะสมในการประมวลผลงานนั้นๆ โดยผู้ใช้งานต้องป้อนข้อมูลเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากประมวลผลก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาทางเอาต์พุต
                ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงขึ้น ทำให้มีการพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ออกมาที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าในอนาคต ประมวลผลข้อมูลได้ดีกว่า และใช้งานได้ดีขึ้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้มาหลายปีแล้วอาจไม่เหมาะสำหรับโปรแกรมบางตัวใน ปัจจุบัน  แต่ถ้าหากเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานมานานก็ยังสามารถทำงาน ได้ดีสำหรับโปรแกรมนั้นๆ
                ในปัจจุบันหน่วยความจำมีราคาถูกลง มีความจุและทำงานได้เร็วขึ้น ในอดีตผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะใช้แผ่นดิสก์เก็บข้อมูล แต่ปัจจุบันหน่วยความจำแบบ Flash drive ที่ต่อทางพอร์ต USB มีราคาถูกลงทำให้ผู้คนเลิกใช้หน่วยความจำแบบดิสก์แล้วหันมาใช้หน่วยความจำ แบบนี้แทน
                ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะมีราคาถูกลงเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถหาคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ มาใช้ได้ไม่ยาก ระบบทางธุรกิจที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้ก็จะเป็นการเพิ่มภาพลักษณ์ เพิ่มความสนใจในการแข่งขัน และทำให้ธุรกิจนั้นดำเนินไปได้รวดเร็วมากขึ้น บริษัทใหญ่ที่มีบริษัทลูกหลายๆ ที่สามารถใช้ระบบบัญชีระบบเดียวกันได้ ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้ โดยอาศัยการสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่าย ก็ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้สะดวกขึ้น ร้านอาหารนำระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายแบบไร้สายมาใช้ โดยให้พนักงานต้อนรับใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีดีเอ ในการรับรายการอาหารที่ลูกค้าสั่ง และในห้องครัวก็ดีคอมพิวเตอร์อยู่ด้วย ก็ทำให้การสั่งอาหารทำได้เร็วขึ้น ทำให้ร้านอาหารมีรายได้มากขึ้นตามไปด้วย








บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศคณะผู้จัดทำโครงงานมีวิธีการดำเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
3.1 ขั้นตอนการดำเนินการ
1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
2. ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับโครงงานในการสร้างสื่อวีดีทัศน์
3. ศึกษาโปรแกรม Camtasia Studio 8 ในการสร้าง
4. จัดทำโครงร่างโครงงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
          5. ออกแบบสื่อวีดีทัศน์
          6. จัดทำโครงงานสร้าง สื่อวีดีทัศน์ เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. เผยแพร่ผลงานโดยการนำเสนอผ่านสื่อวีดีทัศน์
8. ทำเอกสารสรุปรายงานโครงงาน
3.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ศึกษา เรื่อง คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
           2. ศึกษา เรื่อง การทำงานของตัวโปรแกรมต่างๆ ได้แก่
          โปรแกรม Camtasia Studio 8
          โปรแกรม photoshop cs6
          โปรแกรม Sony Vegas Pro 12

3.3 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโครงงาน
1. เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. ซอฟต์แวร์
- โปรแกรม Camtasia Studio 8
- โปรแกรม photoshop cs6
- โปรแกรม Sony Vegas Pro 12



บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงาน
การพัฒนาโครงงาน สื่อเพื่อการศึกษาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  คณะผู้จัดทำได้ดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่ได้วางแผนไว้ และได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านทางเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ต www.youtube.com ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ เป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์และรวดเร็วในการรับข้อมูล

4.2 การนำไปใช้
          จากการจัดทำโครงงาน และสื่อวีดีทัศน์ เรื่อง คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเผยแผ่ความรู้ ประวัติความเป็นมา ของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ผู้สนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการใช้อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น





บทที่ 5
สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
          การดำเนินงานโครงงานนี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ คือ เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  สื่อเพื่อการศึกษาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อวีดีทัศน์นำเสนอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www.youtupe.com ที่มีทั้งภาพและเสียงสร้างความสนใจช่วยพัฒนาให้ความรู้ของผู้ชม มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นในปัจจุบัน สื่อวีดีทัศน์เพื่อการศึกษาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นสื่อที่มีประโยชน์ เป็นการนำซอฟต์แวร์มาพัฒนาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์

5.2 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรคของการจัดทำ เกิดจากการใช้โปรแกรม Camtasia Studio 8 ที่ผู้จัดทำยังไม่มีความรู้ความสามารถมากพอที่จะทำให้การสร้างสื่อวีดีทัศน์ออกมาอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากพอ

5.3  ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา
ควรมีการจัดทำเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายและมีเนื้อหาที่ออกมาหลายๆรูปแบบ










บรรณานุกรม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557    
จากเว็บไซต์: http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340202011/1.html
เรียนรู้คอมพิวเตอร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557. จากเว็บไซต์:
http://krudarin.wordpress.com    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น