เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคม

. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคม

       ในบทนี้จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลก ผลกระทบ

6.1 การเปลี่ยนแปลงของโลก

      เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปสู่สังคมข่าวสาร ผลกระทบย่อมเกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบ เราจะเตรียมพร้อมรับการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้อย่างไร

6.1.1 ความหมายของสังคมสารสนเทศ

         สังคมสารสนเทศหรือสังคมข่าวสาร (The information society) เป็นสังคมที่มีการใช้สาร
สนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจทั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ในสังคมสารสนเทศจะทำให้เราได้รับสารสนเทศที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการและทันเวลา ในสังคมสารสนเทศ เราสามารถแบ่งกลุ่มเทคโนโลยีต่างๆที่จัดอยู่ในประเภทเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดังนี้ คือ 1) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ 2) เทคโนโลยีโทรคมนาคมหรือการสื่อสารข้อมูล

6.1.2 คุณลักษณะของสังคมสารสนเทศ

         สังคมสารสนเทศมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
                1. เป็นสังคมที่มีการใช้สารสนเทศที่บันทึกอยู่บนสื่อที่เป็นเอกสาร สิ่งพิมพ์ และไม่ตีพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เสียงภาพ
                2. เป็นสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT เพื่อการได้มา จัดเก็บ ประมวลผล สืบค้นและเผยแพร่สารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างรวดเร็วถูกต้องและทันเวลา
                3. เป็นสังคมที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่มีไมโครโพรเซสเซอร์เป็นตัวควบคุมการทำงาน เครื่องอำนวยความสะดวกในบ้านและในสำนักงาน ตัวอย่างเช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์กันขโมย ระบบควบคุมไฟฟ้า เป็นต้น
               4. เป็นสังคมที่ผู้ใช้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ด้วยตนเองทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมอันนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตและการเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบการด้านต่างๆ

6.1.3 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

         ผลกระทบทางบวก
              1. ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์
              2. ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น
              3. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่
              4. ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
              5. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์
              6. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง
              7. ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
              8. ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย

          
ผลกระทบทางลบ
              1. ทำให้เกิดอาชญากรรม
              2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย
              3. ทำให้เกิดความวิตกกังวล
              4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ
              5. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น
              6. ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว

6.2 ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

      อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆขึ้น ตัวอย่างปัญหาอาชญากรรมบนเครือข่าย เช่น การขโมยข้อมูลหรือสารสนเทศในขณะที่ส่งผ่านไปบนระบบเครือข่าย การแอบใช้รหัสผ่านของผู้มีอำนาจเพื่อเข้าถึงและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นความลับ การให้บริการสารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเครือข่าย เช่น ไวรัสเครือข่ายการแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ ก่อให้เกิดการหลอกลวง และมีผลเสียติดตามมาลักษณะของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่รู้จักกันดี ได้แก่ แฮกเกอร์ (Hacker) และแครกเกอร์  (Cracker) แฮก-เกอร์ คือ ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย สามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานสำคัญๆ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย แต่ไม่ทำลายข้อมูล หรือหาประโยชน์จากการบุกรุกคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น แต่ก็ถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนแครกเกอร์ คือ ผู้ซึ่งกระทำการถอดรหัสผ่านข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถนำเอาโปรแกรม หรือข้อมูลต่างๆ มาใช้ใหม่ได้ เป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการลักลอกหรือเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง
       การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ เป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัดย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การนำเอาข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวกับบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเช่นนี้ต้องมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองเพื่อ
ให้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง และเพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูลโดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ต และผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักถึงบทบาทและจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพของตนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น

6.3 ทรัพย์สินทางปัญญา

      ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นผลผลิตที่เกิดจากความคิดของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ซึ่งทรัพย์สินเหล่านี้จะได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายความลับทางการค้า (Trade Secret) กฎหมายลิขสิทธิ์ (Copyright) และสิทธิบัตร (Patent) ตัวอย่างปัญหาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ ซอฟต์แวร์ เพราะเป็นเรื่องที่กระทำได้ง่ายมาก ซึ่งในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ จะพบว่าบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายบริษัทได้สูญเสียเงินในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น