. หน่วยความจำ Memory

. หน่วยความจำ Memory
    อุปกรณ์ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งที่คอมพิวเตอร์จะขาดไม่ได้คือ หน่วยความจำ Memory ซึ่งมีหลายประเภท ตามลักษณะการทำงาน ดังนี้

3.1 หน่วยความจำรอม (ROM) และ (RAM)

      คำว่า ROM ย่อมาจาก Read Only Memory เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลแบบถาวร รอมที่ใช้บันทึกข้อมูลของอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด เช่น ขนาดและประเภทของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ ขนาดของแรม หน่วยประมวลผลที่ใช้การติดตั้งหน่วยขับแผ่นบันทึก (Floppy drive) เป็นต้น ข้อมูลที่บันทึกในรอม จะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่อง หน้าที่ของรอมคือจะตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์ใดบ้าง ที่ติดตั้งใช้งาน หากตรวจสอบไม่อุปกรณ์ที่สำคัญๆ เช่น ไม่พบฮาร์ดดิสก์ ซีพียู หรือแรม รอมจะหยุดการทำงาน
 
       คำว่า RAM ย่อมาจาก Random Access Memory เป็น หน่วยเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์ แต่ข้อมูลจะสูญหายทันที เมื่อปิดเครื่อง ในการใช้งานจริง จึงต้องบันทึกข้อมูลไว้ในฮาร์ดดิสก์ก่อนปิดเครื่อง
      หน่วยความจำแรม มีหน่วยวัดเป็น ไบต์ (byte) ซึ่งถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าจะนิยมใช้หน่วยความจำแรม 8 หรือ 16 เมกะไบต์ (Megabyte) แต่ถ้าเป็นเครื่องรุ่นใหม่ๆ จะใช้แรมขนาด 128 หรือ 256 MB ขึ้นไป ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมรุ่นใหม่ หรือกับแฟ้มข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ๆ เช่น งานมัลติมีเดียหรืองานกราฟิกได้

3.2 DRAM (ดีแรม) และ SDRAM (เอสดีแรม)

      DRAM เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่อง นิยมใช้มากในสมัยก่อนเพราะราคาไม่แพง แต่ทำงานได้ช้ามากปัจจุบันมีการใช้ SDRAM (Synchronous DRAM) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ในสมัยก่อนอาจจะมีราคาสูง แต่ปัจจุบันราคาได้ถูกลงมาก คนจึงนิยมใช้ SDRAM มากขึ้น
          
      SIMM (ซิม) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับติดตั้งหน่วยความจำ ติดตั้งบนเมนบอร์ด เราสามารถเพิ่มจำนวนแรมโดยเสียบแผงวงจรเข้ากับซิมนี้ เพียงเท่านี้ก็สามารถเพิ่มแรมได้อย่างง่ายๆสะดวก รวดเร็วและสามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังนั้นข้อจำกัดของการเพิ่มแรม คือ จำนวนช่องของ SIMM และขนาดของแรมแต่ละแผงที่นำมาเสียบลงบน SIMM

3.3 หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory)

      หมายถึง หน่วยความจำประเภทหนึ่งใช้สำหรับแสดงผล เป็นหน่วยความจำที่ถูกสร้างขึ้นมาในกรณีที่หน่วยความจำแรมไม่พอใช้ โดยระบบปฏิบัติการจะมีการนำเอาพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์บางส่วนมาเป็นพื้นที่ทำงานชั่วคราวในขณะเปิดแฟ้มข้อมูล และจะลบทิ้งเมื่อปิดแฟ้มข้อมูล เราจึงเรียกว่า หน่วยความจำเสมือนข้อเสียของการใช้หน่วยความจำเสมือนคือ ถ้าพื้นที่ว่างมีน้อยกว่าที่กำหนดไว้ คอมพิวเตอร์จะทำงานช้าลง การใช้งานฮาร์ดดิสก์จึงมักจะให้มีเนื้อที่ที่ไม่ได้ใช้งาน เหลือไว้ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์
      ในการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น เราจะต้องเลือกขนาดของแรมที่เหมาะสม โดยเฉพาะโปรแกรมปฏิบัติการ (OS) รุ่นใหม่ๆ เช่น Windows 98, Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการขนาด 32 บิต ต้องใช้แรม 64 MB ขึ้นไป หากใช้แรมน้อยกว่านี้เครื่องอาจจะทำงานช้ามากหรืออาจหยุดชะงักได้ง่าย

3.4 หน่วยความจำแคช (Memory Cache) และ บัส (Bus)

      หน่วยความจำแคชเป็นหน่วยความจำที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น เป็นการเก็บข้อมูลที่เราเคยเรียกใช้แล้วเอาไว้ในกรณีที่เราต้องการเรียกใช้ก็มาเรียกข้อมูลจากแคช ซึ่งจะดึงข้อมูลได้เร็วกว่าหน่วยความจำดิสก์มาก

หน่วยความจำแคช มี 2 ประเภท คือ
      1. แคชภายใน ติดตั้งอยู่ภายในซีพียู เวลาเครื่องประมวลผล ก็จะเรียกเก็บข้อมูลที่เก็บไว้ที่แคชใกล้ๆ ซีพียูมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว
      2. แคชภายนอก จะติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดเหมือนแรม ถ้าเครื่องไม่พบแคชในซีพียูก็จะมองหาแคชภายนอก ถ้าพบก็จะนำมาใช้งาน ซึ่งก็จะทำงานได้ช้ากว่าแคชภายในอยู่บ้าง




               เป็นเส้นทางวิ่งระหว่างข้อมูลหรือคำสั่ง การวัดขนาดความกว้างของ บัส เราเรียกว่า บิต” 8 บิต เท่ากับ 1 ไบต์ หรือ 1 ตัวอักษร ส่วนความเร็วของ บัส วัดด้วยหน่วยเมกะเฮิรตซ์ (Mhz) หรือหนึ่งล้านรอบต่อวินาที บัสที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ บัสแบบ PCI (Peripheral Component Interconnect) มีความกว้างของสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลถึง 32 หรือ 64 บิต ความเร็วมากกว่า 300 MHz ขึ้นไป นอกจากนี้ PCI ยังสนับสนุนคุณสมบัติPlug and Play ที่ใช้ในการติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ใหม่ด้วย

3.5 หน่วยข้อมูลสำรอง


       คอมพิวเตอร์หรือซีพียูจะเรียกใช้ข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลหลัก คือ แรมก่อน หากข้อมูลที่ต้องการไม่มีในแรม ก็จะทำการอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรองไปเก็บไว้ที่แรม เพราะหน่วยเก็บข้อมูลสำรองสามารถจะเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ แม้ว่าจะปิดเครื่อง และเก็บข้อมูลได้มากกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหลัก หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบ่งออกเป็น แผ่นบันทึก (Floppy Disk) หรือที่นิยมเรียกว่า ดิสเก็ตต์ (diskette) มีลักษณะเป็นแผ่นแม่เหล็ก ทรงกลม มีพลาสติกแข็งเป็นกรอบสี่เหลี่ยมครอบไว้ชั้นนอก ขนาด 3.5 นิ้ว สามารถจุข้อมูลได้ 1.44 MB ก่อนการใช้งาน
จะต้องทำการฟอร์แมตแผ่นก่อน ปัจจุบันแผ่นดิสเก็ตต์จะฟอร์แมตมาจากโรงงานผู้ผลิตแล้ว สามารถนำมาใช้งานได้ทันที การใช้งานจะเสียบใส่ในเครื่องขับแผ่นบันทึก (Floppy Drive) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อ่านและเขียนแผ่นดิสก์ ติดตั้งอยู่ภายในตัวถังของเครื่อง แผ่นบันทึก (Floppy disk) เก็บข้อมูลได้ไม่มากนัก เหมาะสำหรับการพกพา เพราะมีขนาดเล็กสามารถนำข้อมูลไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้สะดวก

  

จานบันทึกแบบแข็ง (Hard Disk) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลขนาดใหญ่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอปปี้ดิสก์หลายล้านเท่า ฮาร์ดดิสก์ติดตั้งในตัวเครื่อง มีขนาดประมาณ 3.5 นิ้ว แต่มีความหนากว่าฟลอปปี้ดิสก์ มีตัวอ่านข้อมูลอยู่ภายใน ในปัจจุบันมีฮาร์ดดิสก์ตั้งแต่ 40 กิกะไบต์ (GB) ขึ้นไป จึงสามารถเก็บข้อมูลได้มาก รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน ที่ต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากขึ้น โดยเฉพาะโปรแกรมประเภทกราฟฟิกหรือมัลติมีเดีย จำเป็นต้องใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากพอจึงจะใช้งานได้

         
ซีดี รอม (CD-ROM) ย่อมาจากคำว่า Compact Disk Read – Only Memory เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากราคาไม่แพง มีอายุการใช้หลายปี และมีขนาดเล็ก ซีดีรอมเป็นแผ่นพลาสติกกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว ผิวหน้าเคลือบด้วยโลหะสะท้อนแสง เพื่อป้องกันข้อมูลที่บันทึกไว้บันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ ปกติซีดีรอมในปัจจุบันจะมีความจุประมาณ 700 MB หรือเท่ากับหนังสือประมาณ 700,000 หน้า หรือเท่ากับฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 1.44 MB ถึง 700 แผ่น สามารถบันทึกข้อมูลได้มาก โดยเฉพาะงานด้านมัลติมีเดียทั้งภาพ แสง เสียง ในเวลาเดียวกัน ที่สำคัญ คือ เป็นระบบที่ปลอดภัยจากไวรัส

         


ดีวีดี รอม (DVD-ROM) ย่อมาจาก Digital Video Disk Read – Only Memory เป็นหน่วยเก็บข้อมูลรองชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมมากลักษณะคล้ายซีดีรอมแต่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าซีดีรอมหลายเท่าคือ ขนาดมาตรฐานเก็บข้อมูลได้ 4.7 GB หรือ 7 เท่าของซีดีรอม และพัฒนาต่อเนื่องไปตลอดดีวีดีแผ่นหนึ่งสามารถบรรจุภาพยนตร์ความยาวถึง 133 นาทีได้โดยใช้ลักษณะการบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG-2 และระบบเสียงแบบดอลบี (Dolby AC-3) ปัจจุบันดีวีดีนิยมใช้ในการบันทึกภาพยนตร์และมัลติมีเดีย
                 








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น